Pages - Menu

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เลี้ยงแมงดานา แมลงเศรษฐกิจ สร้างรายได้งาม

การเลี้ยงแมงดานา

 โดย อ.ชาตรี ต่วนศรีแก้ว
https://www.facebook.com/sedtagidpurpearng



มีใครรู้บ้างครับว่าแมงดาดาเขาเลี้ยงกันยังไง 

พอดีผมได้เจอเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับอาชีพเกษตรกร และก็ไม่ลืมเอามาฝากเพื่อนๆชาวเกษตรเช่นเคยครับ ต้องขอบอกก่อนนะครับว่านี่ไม่ได้เป็นประสบการณ์ตรงจากการเลี้ยงเองนะครับ แค่ได้มีคนถามผมว่า “พอจะรู้จักวิธีการเลี้ยงแมงดานาไหม? ” ผมเองก็นึกสงสัยว่าเจ้าแมงดานาตัวน้อยนี้มันมีคนเลี้ยงด้วยเหรอ แล้วมีนสามารถสร้างรายได้ให้กับคนเลี้ยงได้สักแค่ไหนกัน และคำถามต่างๆก็เริ่มเกิดขึ้นในหัวผม แล้วผมก็ได้เริ่มหาข้อมูลมาให้ได้ศึกษาไปพร้อมๆกันครับ

เมื่อพูดถึงแมงดานา

ทุกคนก็คงจะนึกถึงน้ำพริกแมงดาและก็คงจะเคยกินน้ำพริกแมงดากันมาบ้างแล้ว แมงดาเป็นวัตถุดิบที่ค่อนข้างจะหายาก ส่วนใหญ่ที่ขายอยู่ตามท้องตลาดจะนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านคือพม่าและกัมพูชาเกือบทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ที่สนใจอาชีพใหม่ ๆ ที่จะเลี้ยงแมงดาเพื่อการจำหน่ายเสริมรายได้ให้กับครอบครัว หรืออาจจะทำฟาร์มเลี้ยงเป็นอาชีพก็ได้ เพราะการเลี้ยงก็ง่าย 

ทำไมต้องเป็นแมงดานา?? 

สิ่งแรกๆที่ทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ ก็คือ ทำไมต้องเป็นแมงดานา มีอีกตั้งเยอะๆตั้งแยะ ที่ให้ทำ ทั้งจิ้งหรีด เห็ด ดักแด้ พอค้นหาข้อมูลดูสักหน่อยก็ต้องบอกว่า แมงดานานี่ราคาไม่ใช่เล่นๆนะครับ ขายกันเป็นตัวไม่ต้องชั่งกิโล ราคาก็อยู่ราวๆ7-12 บาท โดยตัวผู้ที่มีกลิ่นหอม(บางคนบอกว่าฉุน) ราคา 10-12 บาท ส่วนตัวเมีย อยู่ที่ 7-10 บาท ระยะเวลาจากแรกเกิดจนถึงส่งขายใช้เวลา 30-45 วัน นั่นหมายความว่า ต้องเลี้ยง 2,500 ตัว เพื่อให้มีรายได้เดือนละ 30,000 บาท เอาแล้วมันจะคุ้มไหมเนี้ย

แมงดานากินอะไร?? อาหารของแมงดานา เป็นสิ่งที่หาได้ตามธรรมชาติ(หรือตลาดก็มีขาย) ได้แก่ ลูกปลาตัวเล็กๆ ลูกอ๊อด กุ้ง (ห้ามใช้ลูกคางคกเพราะมีพิษ)

ต้องเลี้ยงเท่าไหรถึงจะพอทำรายได้?? ในระยะแรกๆ ให้ทดลองเลี้ยงดูก่อน ให้ทดลองที่ 10-20 คู่(ตัวผู้กับตัวเมีย ซึ่งบางครั้ง สามารถใช้ ตัวผู้หนึ่งตัว ต่อตัวเมีย 5 ตัวก็ได้ แบบนี้ค่อยสมกับเป็นแมงดาหน่อยเนอะ)  ซึ่งพ่อพันธุ์แม่พันธุ์แต่ละรุ่นสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครับในระยะห่างกัน 1 เดือน ซึ่งพอครบ 3 ครั้งก็สามารถจับขาย และเลือกลูกๆที่โตมาทำเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์รุ่นต่อไปแทน




การวางไข่แต่ละครั้งของแม่แมงดานาจะอยู่ที่ประมาณ 100-200 ฟอง ซึ่งการเลี้ยงแม่พันธุ์ 20 ตัวก็สามารถให้ลูกแมงดาได้ 2,000-4,000 ตัวต่อการเลี้ยงหนึ่งครั้งเลยทีเดียว ดูแล้วไม่ยาก และไม่นานเกินไปแล้วใช่ไหมละครับกับผลตอบแทนระดับ 30,000 ต่อเดือน

ขั้นตอนการเลี้ยงแมงดา

คือว่าผมกลัวพิมพ์แล้วมันยาว มันจะน่าเบื่อ ดูเป็น วีดิโอเลยดีกว่าน่าจะเข้าใจง่ายกว่า มี 2 ช่วงนะครับ
ลิงค์1.https://www.youtube.com/watch?v=Z-VdVYGXw4E&list=PLZnirvOw7LknKbSt4NcBAQAVLqk0Duxq6&index=2
ลิงค์2.https://www.youtube.com/watch?v=Qj9Rtjis_6s&list=PLZnirvOw7LknKbSt4NcBAQAVLqk0Duxq6&index=3




ต้องดูแลอย่างไรบ้าง?? การดูแลแมงดานา ไม่ได้ยากเย็นเลยนะครับเพราะว่าแมงดานาเป็นสัตว์ที่อาศัยตามธรรมชาติของบ้านเราอยู่แล้ว จึงไม่ต้องห่องเรื่องอุณหภูมิน้ำ ภูมิอากาศ แต่ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษก็คือ
1. การถูกรบกวนจาก คน สัตว์เลี้ยง และแสงไฟ เพราะสิ่งเหล่านี้จะรบกวนการเจริญเติบโต และการพักผ่อนของแมงดานาได้
2. ความสะอาดของน้ำ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน หรือหากเริ่มมีกลิ่นเหม็น เก็บเศษอาหารที่ที่ลูกแมงดากินไม่หมด
3. เห็บหรือไร จะมากัดแมงดาหากว่าน้ำสกปรก
แมงดานามีศัตรูตามธรรมชาติไหม?? แน่นอนครับว่า สัตว์ทุกชนิดย่อมมีศัตรูตามธรรมชาติ และแมงดานาก็ไม่เว้น ยกตัวอย่างเช่น
1. ดมจะคอยกัดแมงดานา จนตาย และคอยกัดกินไข่แมงดา หากว่าสามารถเข้าถึงได้
2. แมงดานาเป็นศัตรูกันเองด้วย หากว่ามีอาหารไม่เพียงพอ ก็ทำให้ตัวอ่อนกินกันเองได้
3. เห็บจะกัดตามตัวของแมงดานาขนาดใหญ่ ซึ่งมันจะดูดกินเลือดของแมงดานาจนตายได้ ตัวเห็นจะมีลักษณะเหมือนไข่เล็กๆ สีน้ำตาลเกาะตามท้องของแมงดา  การแก้ไขให้เปลี่ยน้ำให้บ่อยขึ้น ลดจำนวนแมงดาต่อบ่อให้น้อยลง
ที่มา http://www.kasetporpeang.com/
เรียบเรียงข้อมูลโดย  ssc.sedtagidpurpearng
(ผิดพลาดประการใดขอรับไว้แต่ผู้เดียวครับ)

ขอขอบคุณ : ภาพจากอินเตอร์เน็ต

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ดอกสลิด เศรษฐกิจพอใจ

ดอกสลิด เศรษฐกิจพอใจ

แม่คำตา โสนะชัย เจ้าของสวนมีสุข บ้านดอนเรือ ต.ดอนโอง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด


ดอกสลิดหรือขจร        

       เป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้อีกหนึ่งทางเลือก ดูแลง่าย ได้รายด้ายหลายทาง ทั้งการขายดอกและขายท้อนพันธุ์ มีตัวอย่าง จาก แม่คำตา โสนะชัย เจ้าของสวนมีสุข บ้านดอนเรือ ต.ดอนโอง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งประสบผลสำเร็จในการปลูก ดอกสลิดหรือขจร ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักขจรให้มากขึ้นกันดีกว่านะครับ

ดอกสลิดหรือขจร

       มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น สามารถเลื้อยพันไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร เถามีขนาดเล็กลักษณะกลมเหนียวมากและเป็นสีเขียว เมื่อแก่เถาขจรจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตามยอดอ่อนมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม แตกใบเป็นพุ่มแน่นและทึบ ทำให้บางครั้งพุ่มของของต้นขจรจะแผ่ปกคลุมต้นไม้อื่นได้มิดเลยทีเดียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำและวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

การปลูกดอกขจร มีผลสรุปการวิจัยของ สวนมีสุข ดังนี้

โดยมีระยะห่างในการปลูกที่ 4 คูณ 3 เมตร  โดย 1ไร่ จะใช้ต้นพนธุ์ประมาณ 400 ต้น

ต้นทุนและระยะเวลาคืนทุน

ดอกขจร ในการปลูก 1 ไร่ จะใช้ต้นพันธุ์ทั้งหมด 400 ต้น ต้นละ 25-35 บ. โดยใช้ระยะห่างในการปลูก 4 คูณ 4 เมตร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าปลูก ค่าค้าง ค่าระบบน้ำ ค่าใช้จ่ายพวดนี้ขึ้นอยู้กับการจัดการของแต่ละสวนว่าจะลดค่าใช้จ่ายได้เพียงไหน หลังจากปลูกประมาณ 3 เดือนดอกขจรก็จะเริ่มออกดอก และจะออกดอกดกในช่วง 6 – 8 เดือน ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 10 กิโลกรัมต่อไร่ โดยสามารถเก็บได้ทุก 2 – 3 วัน ส่วนราคาขายส่งที่สวนก็กิโลกรัมละ 100 บาท จะได้ผลผลิต 100 X 90-120 = 900-1200 บ./วัน (1เดือน เก็บ 10 วัน ก็จะได้เงิน 9000 - 12000 บ. คื่นทุน)



ผลผลิตดอกขจร

 ภาพ ผลผลิตดอกขจร
เกษตรกรหลายคนอาจจะสงสัยว่าปลูกดอกขจรได้ผลผลิตเยอะเท่าไหร่กันแน่? การที่ผลผลิตของดอกขจรจะให้ผลผลิตเยอะหรือน้อย มีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ใช้ดอกขจรพันธุ์อะไรปลูก ซึ่ง ดอกขจรก็จะมี 2 สายพันธุ์ (ชนิดของพันธู์ดอกขจร) ถ้าใช้มาขจรพันธุ์ดอกใหญ่ก็จะให้ผลผลิตที่เยอะกว่าพันธุ์พื้นเมืองค่อนข้างมาก โดยใน 1 ไร่ก็จะได้ประมาณ วันละ 10 กิโลกรัม แต่ถ้าจะปลูกขจรพันธู์พื้นเมืองก็จะได้ดอกที่น้อย ประมาณวันละ 2- 3 กิโลกรัม แต่จะได้ผลของขจรที่เยอะมาก (ปกติที่สวนจะขายที่ตลาดผลละ 1 บาท) ซึ่งขจรทั้งสองสายพันธุ์ก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ปัจจัยต่อมาในการออกดอกของดอกขจร คือ ดินที่ใช้ปลูกมีความเหมาะสมหรือไม่ (ดูในหัวข้อ การเตรียมพื้นที่ปลูกดอกขจร) นอกจากนั้นยังมีการให้น้ำดอกขจรว่าเพียงพอหรือเปล่า (ระบบการให้น้ำดอกขจร) ใส่ปู๋ยถูกต้องเหมาะสมใหม และการป้องกันโรคที่จะเกิดตามมา


การปลูกดอกขจรให้ดกนั้น มีวิธีการดังนี้

1. จำเป็นต้องเลือกชนิดพันธุ์ดอกขจรที่จะปลูกให้เหมาะสม ซึ่งขจรพันธุ์ดอกนั้นจะให้ดอกที่ดกและดอกใหญ่
2. การให้น้ำดอกขจร ถึงแม้ขจรจะไม่ชอบน้ำแต่ก็ไม่สามารถขาดน้ำได้เลย ควรรดน้ำวันละครั้งเพื่อให้ดอกมีที่โตและไม่เหี่ยวเฉา
3. ควรใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับต้นดอกขจร  ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยสูตร 25-7-7  โดยใส่สลับกันทุก 15 วัน
4. ควรป้องกันศัตรูของดอกขจรและมีวิธีการป้องกันที่เหมาะสม
5. ควรทำค้างดอกขจรที่เหมาะสม ดอกขจรจะได้รับแสงแดดและออกดอกที่ดี


ฝากกดไลค์เพจ : เศรษฐกิจพอเพียง คนรุ้นใหม่หัวใจพอเพียง ด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/sedtagidpurpearng

ที่มา http://www.suanmeesuk.com/

เรียบเรียงโดย ssc.sedtagidpurpearng
(ผิดพลาดประการใดขอรับไว้แต่ผู้เดียวครับ)

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

ปลูกผักหวานบ้าน เก็บยอดขายสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

ปลูกผักหวานบ้าน เก็บยอดขายสร้างรายได้






ผักหวานบ้าน : เป็นไม้ที่ปลูกง่ายโตเร็วไม่เหมือนผักหวานป่าที่มีการปลูกค่อนข้างยากกว่ามากซึ่งเป็นข้อดีของผักหวานบ้าน ยอดผักหวานบ้านจะมียอดที่อวบและใหญ่กว่าผักหวานป่าและให้น้ำหนักดี และเป็นที่ต้องการของตลาดทุกวันนี้ แถมราคาถือว่าดีมากเลยทีเดียวครับ วันนี้ผมจึจะมาแนะนำการปลูก ผักหวานบ้าน ไว้ทานเองหรือจะปลูกขายสร้างรายได้กันครับ 


ลักษณะ : เป็นไม้พุ่ม สูง 0.8 - 2 เมตร ไนิยมกินยอดอ่อน กิ่งก้านค่อนข้างเล็ก สีเขียวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบสั้น ประมาณ 2 - 4 มม. ใบออกแบบสลับ รูปร่างกลมรูปขอบขนาน หรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบกว้าง 2 - 3.2 ซม. ยาว 3.2 - 6 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนขอบใบเรียบ และมีหูใบเป็นแผ่นเล็ก ๆ ที่โคนก้านใบ ดอกสีม่วงแดงหรือแดงเข้มกลุ่มละ 2 - 4 ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกตรงซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกเพศกัน ผลรูปร่างคล้ายลูก มะยม เรียงกันอยู่ใต้ใบ ผลมี 3 พู สีขาวนวลและออกสีชมพูเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0 - 1.5 ซม. เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม ขนาดเล็ก

ทำไมจึงเลือกปลูกผักหวานบ้าน ?


1.ผักหวานบ้านเป็นพืชที่สามารถปลูกครั้งเดียวก็สามารถเก็บเกี่ยวได้นานอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นอยู่กับการดูแลที่ถูกวิธี นั้นหมายความว่าเกษตรกรจะลงทุนเพียงครั้งเดียว แต่มีรายได้ตลอด โดยอาจจะทยอยเก็บทุกวัน ทุก3วันหรือทุก7วันก็ได้

2.ให้ผลตอบแทนเร็ว เพียง 3 เดือนหลังปลูกก็สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ เมื่อผักหวานบ้านอายุได้6เดือน ให้ผลตอบแทนต่อเดือนสูง 1ไร่สามารถทำเงินได้ 15,000 – 30,000 /เดือนขึ้นอยู่กับการดูแลการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม

3.ใช้พื้นที่ในการปลูกน้อยเมื่อเทียบกับพืชผักชนิดอื่นๆ

4.ทางด้านการตลาด ผักหวานปัจจุบันมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ราคาขายในตลาดบางช่วงสูงถึง 200 บาท/กิโลกรัม และราคาไม่ต่ำกว่า 100 บาท/กิโลกรัม ผักหวานบ้านยังคงเป็นสินค้าที่ตลาดยังมีความต้องการอีกมาก

5.ผักหวานบ้านเป็นพืชที่ปลูก และเติบโตง่าย สามารถปลูกได้ในสภาพดินที่ไม่ดี ต้านทานโรคได้ดี มีศัตรูทางธรรมชาติน้อยมาก ง่ายต่อการดูแลรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับพืชผักชนิดอื่นๆ เกษตรกรไม่ต้องเสี่ยงกับการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง

6.ผักหวานบ้านเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยและการดูแลน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพืชผักชนิดอื่นๆ

7.สามารถเก็บผลผลิตได้ทั้งปี และเมื่อเกษตรยังไม่เก็บผลผลิตก็ไม่เสียหายแต่กลับโตและพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆสามารถตัดกิ่งขายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง

8.ผักหวานบ้านไม่มีหนาม ต้นไม่สูง การเก็บผลผลิตทำได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว

9.ผักหวานบ้านสามารถปลูกเป็นพืชรองร่วมกับต้นไม้อื่นๆได้ เช่นปลูกในสวนมะนาว สวนมะม่วง สวนฝรั่ง เป็นต้น ที่สำคัญผักหวานบ้านสามารถปลูกเป็นพืชคลุมหน้าดินกันวัชพืชเจริญเติบโตได้ และขายได้อีกด้วย

วิธิการปลูกผักหวานบ้าน

1. เตรียมกิ่งพันธุ์หรือต้นพันธุ์ดี 2500 - 4000 กิ่ง/ไร่

2. เตรียมดินเพื่อทำแปลงปลูก ให้เป็นคันสูงจากพื้นเล็กน้อยเพื่อระบายน้ำ 

3. ระยะห่างการปลูก ระยะร่องปลูก 0.8-1.0 m. ระยะห่างในแถว 0.5-1.0 m.


4. ดูแลใส่ปุ๋ยและให้น้ำเป็นประจำ เพียง 3 เดือนหลังปลูกก็สามารถเริ่มเก็บยอดขายได้แล้วครับ






ต้นทุนในการปลูกผักหวานบ้าน

-  กิ่งพันธุ์ผักหวานบ้าน  4,000 กิ่ง (กิ่งล่ะ 3 บาท)12,000 บาท

-  ราคาค่าแรงในการปลูกหรือปรับปรุงพื้นที่ แนะนำให้ปลูกแบบยกแปลง  1ไร่ปลูกได้ ประมาณ 4,000 ต้น  2,000 บาท

-  ราคาค่าอุปกรณ์ระบบจ่ายน้ำ  15,000 บาท


-  ค่าอุปกรณ์อื่นๆ  2,300 บาทรวมต้นทุนในการลงทุนปลูกผักหวานบ้าน พื้นที่ 1 ไร่ เท่ากับ 31,300 บาท

ระยะคืนทุน

ผักหวานจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 3 เดือน โดยเว้นระยะห่าง วัน เก็บได้ ครั้ง  เมื่อผักหวานอายุ มากกว่า 6 เดือนจะได้ผลผลิตผักหวานอยู่ที่ 300 กก./ไร่/เดือนราคาขาย ส่งรถรับซื้อ ราคาต่ำสุด 40 บาท/กิโลกรัม เท่ากับ 12,000 บาท/เดือนราคาขายส่งแผงผักในตลาด(ส่งเอง) 60 บาท/กิโลกรัม เท่ากับ 18,000 บาท/เดือนราคาขายด้วยตนเอง 100 บาท/กิโลกรัม (แต่ปกติจะมากกว่า โดยทั่วไปขายกิโลกรัมล่ะ 200 บาท)  เท่ากับ 30,000 บาท/เดือน



ฝากกดไลค์เพจ : เศรษฐกิจพอเพียง คนรุ้นใหม่หัวใจพอเพียง ด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/sedtagidpurpearng

เรียบเรียงโดย ssc.sedtagidpurpearng
(ผิดพลาดประการใดขอรับไว้แต่ผู้เดียวครับ)