"มหัศจรรย์"การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
โดย อาจารย์ สุเนาว์ ฤทธิ์นุช
https://www.facebook.com/sedtagidpurpearng
เห็ดฟางเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ปัจจุบันได้รับความนิยมในกลุ่มของผู้บริโภค และเกษตรกรเอง เพราะราคาที่เพิ่มสูงขึ้น วันนี้ ใครที่ต้องการหารายได้เสริมจากการเพาะเห็ดฟางขาย เรามีเรื่องราว และเทคนิคการเพาะเห็ดฟางแบบง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากมาฝาก
ข้อดีหลายอย่างในการปลูกเห็ดฟางในตะกร้า
1. ใช้พื้นที่ในการเพาะเห็ดเพียงมีพื้นที่ในการวางตะกร้าซักนิดหน่อยก็ใช้ได้แล้ว
2. การจัดการและดูแลพร้อมทั้งสังเกตเห็ดฟางง่ายกว่าการทำเยอะๆ
3.สามารถที่จะปลูกในพื้นที่เดียวซ้ำๆได้
4. ลงทุนในการปลูกไม่เยอะเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่สนใจอาชีพการเพาะเห็ดฟาง
เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
นั่นคือ เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก การเพาะเห็ดฟางในตะกร้านี้เป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่ประยุกต์ขึ้นมา แต่เดิมนั้นการเพาะเห็ดฟางแบบทั่วไปใช้พื้นที่ใน แนวราบ มาตรฐานของการเพาะเห็ดฟางในพื้นที่ราบ 1 ตารางเมตร ได้ผลผลิตได้ถึง 3 กิโลกรัม ถือว่ายอดเยี่ยมการเพาะเห็ดฟางแบบใน ตะกร้าจะใช้พื้นที่ในแนวสูงกับแนวราบของพื้นที่ตะกร้าที่เป็นทรงกระบอก โดยสามารถใช้ตะกร้าซักผ้า ตะกร้าใส่ผลไม้ ตะกร้าใส่ปลา ของชาวประมง คือไม่สูงมากประมาณ 1 ฟุต รอบ ๆ ตะกร้าจะมีตามีช่องด้านบนเห็ดก็สามารถออกได้ และสามารถนำตะกร้าซ้อนกันได้หลายชั้น เป็นลักษณะของการเพิ่มพื้นที่การออกดอกของดอกเห็ด ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีทำเหมาะกับทุกรูปแบบอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
2. ก้อนเชื้อเห็ดฟาง
3. หยวกกล้วย หรือ ผักตบชวา สับละเอียด
4. รำข้าว
6. พลาสติกใส สำหรับคลุม
ขั้นตอนการทำ
1. เริ่มจากแช่ฟางในน้ำทิ้งไว้ 1 คืน
2. บี้ก้อนเชื้อเห็ดฟาง แล้วนำมาผสมกับหยวกกล้วยสับ และรำข้าว กะปริมาณให้พอดีกัน
3. นำฟางที่แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน มาใส่รองก้นตะกร้า หรือ ก้อนเชื้อเห็ดเก่า เป็นชั้นที่ 1 สูงประมาณ 2-3 นิ้ว ที่สำคัญคือ ต้องกดให้แน่น และเก็บฟางให้เรียบร้อย อย่าให้ออกมาช่องตะกร้า อาจใช้กรรไกรช่วยเล็มออกก็ได้
4. โรยผักตบชวาที่หั่นไว้ ลงบนวัสดุเพาะ โดยรอบ
5. โรยเชื้อเห็ดฟางที่ผสมแล้ว โดยโรยบริเวณริมขอบตะกร้า เว้นตรงกลางไว้ หากใครมีปุ๋ยคอก อาจใส่ปุ๋ยคอกลงตรงกลาง เพื่อบำรุงเห็ดให้เติบโตดีขึ้นก็ได้
5. ทำซ้ำเป็นชั้นที่ 2
5. ปิดชั้นที่ 3 โดย นำฟางหรือผักตบมาคลุมปิด และทำสลับชั้นกันกับเชื้อเห็ดฟาง โดยใช้ฟางทั้งหมด 4 ชั้น และเชื้อเห็ด 3 ชั้น มีเคล็ดลับอยู่ว่า พอถึงเชื้อเห็ดชั้นที่ 3 ให้โรยไปให้ทั่ว ไม่ต้องเว้นตรงกลางไว้แล้วใช้ฟางคลุมปิดเป็นชั้นสุดท้าย ได้เป็น 1 ตะกร้า
6. จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม แล้วใช้พลาสติกใสคลุมทิ้งไว้ หากเพาะหลายตะกร้า อาจทำเป็นกระโจมพลาสติกคลุมก็ได้
การดูแลรักษาสำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า
-สถานที่ควรเป็นพื้นดิน ใต้ร่มไม้หรือร่มสนิท
-ซ้อนตะกร้า เป็นรูปสามเหลี่ยม แนวยาว 1 แถว หรือ 2 แถว
-รดน้ำที่พื้นดินให้เปียกแฉะ จะได้ความชื้นจากการระเหยของน้ำที่ดิน
-คลุมด้วยพลาสติก ทับด้วยฟางแห้ง หรือแสลน ปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน
-ครบ 3 คืน เปิดระบายอากาศตรงกลาง แล้วคลุมไว้เหมือนเดิม อีก 3-4 วันเก็บผลผลิตได้
-ผลผลิต 1 ตะกร้า 1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับอาหารเสริม ยิ่งใส่มาก ผลผลิตยิ่งสูงตาม
-อาหารเสริมจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ร่วมกันหลายๆอย่างก็ได้
ค่าใช้จ่ายในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า มีดังนี้
1. ตะกร้าพลาสติกขนาดสูง 11 นิ้ว ปากตะกร้ากว้างประมาณ 18 นิ้ว มีตาห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ตะกร้าใบหนึ่งใช้ได้หลายครั้ง อาจใช้ได้นานเกิน 20 ครั้งขึ้นไป ราคาใบละประมาณ 30 บาท
2. ชั้นโครงเหล็ก ใช้เหล็กแป๊ปสี่เหลี่ยมขนาด 6 หุน มาทำเป็นโครงเหล็กให้ได้ขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร สูง 2 เมตร
ยาง 2 เมตร ซึ่งโครงเหล็กมี 4 ชั้น สามารถวางตะกร้าเพาะได้ 40 ใบ ราคาโครงเหล็กประมาณ 705 บาท
3. แผ่นพลาสติกสำหรับคลุมชั้นโครงเหล็ก ใช้แผ่นพลาสติกใสขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร ราคาประมาณ 60 บาท
4. โรงเรือน ซึ่งโรงเรือนเป็นไม้ลักษณะของโรงเรือน คือนำไม้มาประกอบกันซึ่งสร้างให้มีขนาดใหญ่ จนสามารถครอบชั้น
โครงเหล็กได้ ราคาโรงเรือนทั้งหมดประมาณ 900 - 1,000 บาท
5. วัสดุเพาะ อาจใช้ฟางหรือก้อนขี้เลื่อยที่ผ่านการเพาะเห็ดถุงมาแล้ว ใช้ 9 ก้อนต่อ 1 ตะกร้า ราคาเฉลี่ยประมาณก้อนละ50 สตางค์ รวมเป็นเงินต่อตะกร้าประมาณ 4 - 5 บาท
6.อาหารเสริม เราสามารถใช้ผักตบชวาหั่นประมาณ 1 ลิตรต่อตะกร้าคิดเป็นเงินรวมตะกร้าละไม่ถึง 1 บาท
7. ค่าเชื้อเห็ดฟางแบบอีแปะถุงละประมาณ 2 บาท
8. ค่าจ้างแรงงานเพาะคิดเป็นเงินตะกร้าละ 3 บาท
9. ค่าจ้างดูแล คิดเป็นเงินต่อตะกร้าละประมาณ 5 บาท
10. ค่าจ้างแรงงาน เพื่อการเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตกิโลกรัมละประมาณ 5 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 2 พันบาทต้น ๆ แต่หากลบค่าใช้จ่ายเรื่องโรงเรือนออกไป ราคาเห็ดฟางต่อหนึ่งตะกร้าจะลง ทุนเพียงประมาณไม่ถึง 50 บาท เท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น